รุ่นต่างๆ และการยกระดับ ของ เอ็ม1 เอบรามส์

รถถังซีเอ็มวี กริซซ์ลีพาหนะโจมตีฝ่าแนวรบที่กำลังยิงสายระเบิด
  • เอ็กซ์เอ็ม1-เอฟเอสอีดี: เป็นรุ่นทดสอบก่อนการผลิต มีรุ่นนี้ทั้งหมด 11 คันซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วงพ.ศ. 2520-2521 พวกมันมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่าพาหนะนักบิน (Pilot Vehicle) จึงถูกทำสัญลักษณ์ด้วยอักษร PV-1 ถึง PV-11
  • เอ็ม1: เป็นรุ่นแรกที่เข้าสู่สายการผลิต การผลิตเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2522 จนถึงปีพ.ศ. 2528 รถถัง 100 คันแรกเป็นรุ่นการผลิตระยะเริ่มในอัตราต่ำ หรือ LRIP (Low Rate Initial Production) จึงถูกเรียกว่าเอ็กซ์เอ็ม1 เพราะว่าพวกมันถูกสร้างขึ้นก่อนที่รถถังดังกล่าวจะถูกจัดว่าเป็นรถถังชั้นเอ็ม1
    • เอ็ม1ไอพี (Improved Performance): เป็นรุ่นที่ถูกสร้างเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ในปีพ.ศ. 2527 ก่อนที่จะมีการสร้างเอ็ม1เอ1 รุ่นนี้ประกอบด้วยการยกระดับและการปรับปรุง เช่น ป้อมปืนแบบใหม่ที่มีเกราะส่วนหน้าที่หนาขึ้น เกราะที่เดิมทีมีความหนา 650 มิลลิเมตรได้ถูกเพิ่มเป็น 880 มิลลิเมตร
  • เอ็ม1เอ1: เป็นรุ่นที่เริ่มการผลิตในปีพ.ศ. 2528 มีระบบปรับความดันเพื่อป้องกันอาวุธนิวเคลียร์ ชีวภาพ และเคมี ทีพื้นที่ส่วนด้านหลังสำหรับเก็บสัมภาระ เกราะระเบิดที่ออกแบบใหม่ และปืนเอ็ม256 ขนาด 120 มิลลิเมตร
    • เอ็ม1เอ1เอชเอ (Heavy Armor): เป็นรุ่นที่ติดตั้งส่วนประกอบเกราะยูเรเนี่ยมหมดอายุรุ่นแรกเข้าไป รถถังบางคันได้ติดตั้งยูเรเนี่ยมรุ่นที่สองเข้าไป โดยเรียกรถถังเหล่านั้นว่าเอ็ม1เอ1เอชเอ+
    • เอ็ม1เอ1เอชซี (Heavy Common): เป็นรุ่นที่ติดตั้งส่วนประกอบเกราะยูเรเนี่ยมหมดอายุรุ่นที่สอง มีการควบคุมเครื่องยนต์ด้วยระบบดิจิตอล และมีการยกระดับอีกเล็กน้อย
    • เอ็ม1เอ1ดี (Digital): เป็นการยกระดับแบบดิจิตอลของเอ็ม1เอ1เอชซี เพื่อให้มีการพัฒนาเท่าเทียมกับเอ็ม1เอ2เอสอีพี มีการผลิตเพียงสองกองพันเท่านั้น
    • เอ็ม1เอ1เอไอเอ็ม รุ่น 1 (Abrams Integrated Management): เป็นโครงการที่ซึ่งรถถังรุ่นเก่าถูกนำมาปรับสภาพให้เป็นรถถังที่ไม่เคยถูกใช้งานเลย[34]และได้มีการเพิ่มตัวเซ็นเซอร์อินฟราเรดมองข้างหน้าและตัวจับเป้าหมายระยะใกล้เข้าไป รวมทั้งมีโทรศัพท์ระหว่างรถถังและทหารราบ อุปกรณ์การสื่อสารที่รวมทั้งเอฟบีซีบี2 และตัวติดตามบลูฟอร์ซ เพื่อช่วยให้พลขับสามารถรับรู้ต่อสถานการณ์ได้ดีขึ้น และยังมีกล้องจับความร้อนสำหรับปืนกลขนาด .50 คาลิเบอร์อีกด้วย บริษัทเจเนรัลไดนามิกส์ได้รับสัญญาจากกองทัพบกสหรัฐให้ทำการสร้างรถถังรุ่นนี้ขึ้นมาอีก[27]
    • เอ็ม1เอ1เอไอเอ็ม รุ่น 2/เอ็ม1เอ1เอสเอ (Situational Awareness): เป็นรุ่นที่มีการยกระดับคล้ายกับเอไอเอ็ม รุ่น 1 ที่มาพร้อมกับส่วนประกอบเกราะยูเรเนี่ยมหมดอายุรุ่นที่ 3
    • เอ็ม1เอ1เอฟอีพี (Firepower Enhancement Package): เป็นการยกระดับที่คล้ายกับเอไอเอ็ม รุ่น 2 แต่สร้างให้กับนาวิกโยธินสหรัฐ
    • เอ็ม1เอ1เควีที (Krasnovian Variant Tank): เป็นเอ็ม1เอ1 ที่ได้รับการดัดแปลงภายนอกให้ดูคล้ายกับรถถังของโซเวียตเพื่อใช้ในศูนย์ฝึกระดับชาติ โดยมีระบบเลเซอร์และอุปกรณ์ฮอฟฟ์แมนติดตั้งอยู่ด้วย
    • เอ็ม1เอ1เอ็ม: เป็นรุ่นสำหรับส่งออกให้กับกองทัพบกอิรัก[35]
    • เอ็ม1เอ1เอสเอ (Special Armor): เป็นรุ่นที่ปรับแต่งให้กับกองทัพบกโมรอคโก[36]
  • เอ็ม1เอ2 (Baseline): เป็นรุ่นที่มีการผลิตเริ่มในปีพ.ศ. 2535 เอ็ม1เอ2 มีความสามารถในการทำให้ผู้บัญชาการรถถังสามารถยิงสองเป้าหมายได้ โดยไม่ต้องทำการเลือกเป้าหมายตามลำดับ นอกจากนี้แล้วยังมันยังใช้ส่วนประกอบเกราะยูเรเนี่ยมหมดอายุรุ่นที่สองอีกด้วย[37]
    • เอ็ม1เอ2เอสอีพี (System Enhancement Package): เป็นรุ่นที่ได้ยกระดับส่วนประกอบเกราะยูเรเนี่ยมหมดอายุรุ่นที่สามเป็นการเคลือบเกราะด้วยกราไฟท์
  • เอ็ม1เอ3: เป็นรุ่นที่อยู่ในการพัฒนา โดยจะมีต้นแบบออกมาให้เห็นในปีพ.ศ. 2557 และจะใช้งานได้จริงในปีพ.ศ. 2560[38] การพัฒนานั้นมีทั้งการใช้ปืนขนาด 120 มิลลิเมตรที่มีน้ำหนักเบากว่า การเพิ่มล้อที่มีระบบกันการสั่นสะเทือน สายพานที่ทนทานขึ้น เกราะที่เบาลง อาวุธระยะไกลที่มีความแม่นยำ กล้องอินฟราเรด และตัวตรวจจับเลเซอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ภายในแบบใหม่จะถูกติดตั้งเข้าไป โดยจะแทนที่ระบบลวดด้วยสายที่เป็นไฟเบอร์ออบติก ซึ่งสามารถลดน้ำหนักของรถถังลงไปได้ถึงสองตัน[39]
  • เอ็ม1 ทีทีบี (Tank Test Bed): เป็นรุ่นต้นแบบที่ใช้ป้อมปืนไร้คน จะมีลูกเรือสามคนในแคปซูลหุ้มเกราะที่ส่วนหน้าของรถถัง อาวุธหลักคือปืนขนาด 120 มิลลิเมตร ปืนเอ็ม256 ที่อาจถูกดัดแปลง และระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติ
  • ซีเอทีทีบี – เป็นรุ่นทดลองที่มีปืนขนาด 140 มิลลิเมตร ป้อมปืนหุ้มเกราะหนัก และตัวถังที่ถูกยกระดับมาจากเอ็ม1 ทั่วไป มันมีระบบบรรจุกระสุนในตัวป้อมปืน เครื่องยนต์ใหม่ และอาจรวมทั้งการยกระดับอื่นๆ อีก รถถังรุ่นนี้ได้เข้าทำการทดสอบในปีพ.ศ. 2530-2531 ซีเอทีทีบีเป็นตัวย่อจาก Component Advanced Technology Test Bed หรือ ตัวทดสอบส่วนประกอบเทคโนโลยีขั้นสูง[40]
  • เอ็ม1ซีเอ็มวี (Combat Mobility Vehicle)[41][42]
  • พาหนะเก็บกวาดทุ่นระเบิดควบคุมจากระยะไกล เอ็ม1 แพนเทอร์ 2[43]
  • รถสะพานจู่โจมขนาดหนัก เอ็ม104 วูล์ฟเวอรีน[44]
  • ระบบเก็บกวาดทุ่นระเบิดด้วยใบมีดและส่วนหมุน เอ็ม1 แพนเทอร์ 2
  • พาหนะโจมตีฝ่าแนวรบ เอ็ม1เอบีวี: เป็นรุ่นสำหรับการโจมตีของนาวิกโยธินสหรัฐ มันสร้างขึ้นจากโครงรถของเอ็ม1เอ1 รถถังรุ่นนี้ได้ติดตั้งหลายระบบลงไป เช่น พลั่วกวาดทุ่นระเบิด สายระเบิดสำหรับกวาดระเบิด และระบบทำเครื่องหมายเส้นทาง นอกจากนี้ยังมีเกราะที่ป้องกันอาวุธความร้อนสูงอีกด้วย ป้อมปืนของรถถังรุ่นนี้ได้ถูกแทนที่ด้วยเครื่องยิงจรวดเอ็มไอซีแอลไอซีที่ด้านหลังแทน ปืนเอ็ม2เอชบี ขนาด .50 ถูกทำให้เป็นปืนควบคุมด้วยรีโมท และมีเครื่องยิงลูกระเบิดที่ติดอยู่ที่ด้านข้างของรถถังเพื่อป้องการโจมตีจากด้านหน้า[45][46]
  • พาหนะกู้ซากหุ้มเกราะ เอ็ม1 มีเพียงต้นแบบเพียงคันเดียวเท่านั้น

รายละเอียด

เอ็ม1เอ็ม1ไอพีเอ็ม1เอ1เอ็ม1เอ2เอ็ม1เอ2เอสอีพี
ปีที่ผลิตพ.ศ. 2522-28พ.ศ. 2527พ.ศ. 2529-35พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา
ความยาว9.77 เมตร
ความกว้าง3.7 เมตร
ความสูง2.37 เมตร2.4 เมตร
ความเร็วสูงสุด72 กม./ชม.66.8 กม./ชม.68 กม./ชม.
พิสัย500 กิโลเมตร 463 กิโลเมตร391 กิโลเมตร 
น้ำหนัก55.7 ตัน57 ตัน61.3 ตัน62.1 ตัน63 ตัน
อาวุธหลักปืนใหญ่ลำกล้องเกลียว เอ็ม68 ขนาด 105 มม.ปืนใหญ่ลำกล้องเกลี้ยง เอ็ม 256 ขนาด 120 มม.
ลูกเรือ4 นาย (ผู้บัญชาการรถถัง, พลปืน, พลบรรจุ, พลขับ)

หมายเหตุ: รถถังทุกรุ่นมีกำลังเครื่องยนต์ 1,500 แรงม้า

อุปกรณ์เพิ่มการอยู่รอดในเขตเมือง

เอ็ม1เอ2 ที่ติดตั้งทัสค์

อุปกรณ์เพิ่มการอยู่รอดในเขตเมือง (Tank Urban Survival Kit) หรือ ทัสค์ (TUSK) เป็นชุดเสริมสำหรับเอ็ม1 เอบรามส์ที่สร้างมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการต่อสู้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นเมือง[47] สนามรบที่เป็นเมืองหรือมีพื้นที่แคบนั้นเป็นที่ที่อันตรายสำหรับรถถังทุกชนิด เพราะว่ามีเพียงเกราะส่วนหน้าของรถถังเท่านั้นที่มีความแข็งแกร่งกว่าเกราะส่วนอื่นๆ ซึ่งในเขตเมือง การโจมตีจะสามารถมาได้จากทุกทิศทาง ศัตรูสามารถเข้าใกล้รรถถังในระยะที่สามารถโจมตีจุดอ่อนของรถถังได้ง่ายดาย หรืออาจเข้าโจมตีที่ส่วนบนของรถถังได้

การยกระดับเกราะนั้นมีทั้งเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด(Explosive Reactive Armor, ERA)แบบอารัต(ARAT, Abrams Reactive Armor)ที่ด้านข้างของรถถังและเกราะแบบตะแกรงที่ด้านหลังเพื่อป้องกันลูกระเบิดขับเคลื่อนด้วยจรวดและหัวรบติดระเบิดแบบอื่นๆ

เกราะใสสำหรับปืนและระบบกล้องจับความร้อนถูกติดตั้งให้กับส่วนบนของรถถังที่มีปืนกล เอ็ม240 ขนาด 7.62 มม.ติดอยู่ นอกจากนี้ยังมีติดตั้งระบบควบคุมด้วยรีโมตคองส์เบิร์ก กรุพเพนสำหรับปืนขนาด .50 คาลิเบอร์ที่ส่วนของผู้บัญชาการรถถัง โดยที่ผู้บัญชาการไม่ต้องออกมายิงปืนด้วยตัวเอง ที่ด้านนอกรถถังยังมีโทรศัพท์เพื่อให้ทหารราบที่ด้านนอกรถถังสามารถติดต่อกับผู้บัญชาการรถถังได้อีกด้วย

ระบบทัสค์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถติดตั้งขณะออกรบได้ ซึ่งมันทำให้รถถังสามารถถูกยกระดับได้โดยไม่ต้องพึ่งโรงซ่อมบำรุง เกราะปฏิกิริยาแรงระเบิดนั้นอาจไม่จำเป็นนักเพราะสถานการณ์ส่วนใหญ่รถถังจะต้องเคลื่อนไหวอยู่เสมอจึงเป็นการยากที่จะถูกยิง แต่สำหรับเกราะท้าย เกราะสำหรับพลบรรจุ โทรศัพท์สำหรับทหารราบ และระบบควบคุมอาวุธด้วยรีโมตคองส์เบิร์คนั้นเป็นสิ่งถูกติดตั้งให้กับรถถังเอ็ม1เอ2ทุกคัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอ็ม1 เอบรามส์ http://www.anao.gov.au/director/publications/audit... http://tecnodefesa.com.br/m-1-abrams-105-mm-tanque... http://usmilitary.about.com/od/armyweapons/a/abram... http://www.accessmylibrary.com/coms2/summary_0286-... http://www.army-technology.com/news/newsrussia-t90... http://www.army-technology.com/projects/abrams/ http://www.army-technology.com/projects/abrams/ind... http://www.armyrecognition.com/june_2012_new_army_... http://www.armyrecognition.com/united_states_army_... http://www.armytimes.com/news/2009/09/SATURDAY_arm...